เมื่อเป็น "นักบริหาร" อย่าเป็น "นักดับเพลิง"

มีคำกล่าวจากหนังสือเชิงบริหารเล่มหนึ่งกล่าวไว้ว่า "อย่าทำตัวเป็นนักดับเพลิง" ซึ่งมาจากเล่มไหนนั้น ผมเองก็จำไม่ได้แล้วเหมือนกันครับ T_T (ขอกราบอภัยไว้ต่อผู้เขียนหนังสือ หากหาเจอ จะรีบนำกลับมาแปะ)

เนื้อหา เสียดแทงใจ มากๆ ครับ ถามว่าทำไม
คำว่า ทำตัวเป็นนักดับเพลิง คือ "มีปัญหาที่ไหน ก็ลงไปแก้ไขที่นั่น"

ยอมรับแต่โดยดีว่า ผมก็เป็นแบบนั้นครับ ก่อนที่จะมาอ่านเรื่องราวนี้ เพราะผมจะยึดถืออยู่เสมอว่า "เมื่อมีปัญหา ให้หาสาเหตุ ก่อน หาตัวการ" เพราะหาคนทำผิด มันเป็นเรื่องง่าย ใครก็ทำได้ครับ กล่าวโทษกันไป กล่าวโทษกันมา

แต่ "แก้ปัญหา" มันไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ แต่สุดท้าย เราก็ลิมไปว่า จริงๆ แล้ว สิ่งที่เราควรทำนอกจากการแก้ปัญหา คือ "สร้างคนให้แก้ปัญหา" และ "ป้องกันไม่ให้ปัญหามันเกิดมาอีก"

เพราะเมื่อมีปัญหา มีคนพร้อมจะ "แก้" มากกว่า 1 คนครับ งานคุณก็จะลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็วกว่า ที่จะต้องมารอให้คุณมาแก้ปัญหาคนเดียว


วัฒนธรรมองค์กร มันถูกกำหนดจากการกระทำซ้ำไปมาครับ ดังนั้น เมื่อมีปัญหา ช่วงแรก พนักงานจะตื่นตระหนก ทำอะไรไม่ค่อยได้ แล้วเราก็ไปช่วยแก้ไขให้ เขาโล่งใจ อาจจะโดนเราตำหนิ นิดหน่อย

แต่เมื่อมีครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป การเรียนรู้ จะบอกให้พนักงานทราบว่า ไม่เป็นไร สุดท้าย เดี๋ยว "หัวหน้า" ก็มาแก้ให้เอง ก็แค่นั่งรอเจ้านายบ่น คำสองคำ เป็นค่าแก้ไขปัญหา แต่ก็ไม่ปวดหัว

อ้ายคนที่ปวดหัว ก็เลยเป็น "หัวหน้า" ซะเอง เพราะเวลามีอะไร ก็เรียกหาแต่ "หัวหน้า" อย่างเดียว
งานก็ช้า รอแก้ "เพียบ"

ดังนั้น การออกแบบกระบวนการ ให้พนักงาน แก้ไขปัญหาได้เอง จึงเป็นเรื่องที่ คนเป็น "นักบริหาร" หรือ "หัวหน้า" ควรจะตระหนัก พอๆ กับ กระบวนการแก้ไขปัญหาครับ

เมื่อคุณเป็น "นักดับเพลิง" สิ่งที่คุณควรทำคือ รวบรวมปัญหา, วิธีแก้ปัญหา, และสุดท้าย "ตัวปัญหา" มาจัดระเบียบเข้าด้วยกันครับ เพื่อให้คนอื่นๆ ก็สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้คุณได้


ถ้าคุณเป็น "ผู้บริหาร" แต่ไม่ใช่ "เจ้าของกิจการ" สิ่งที่มักจะกล้วคือ ถ้าคนอื่นทำได้ คุณจะมีประโยชน์อะไร ผมบอกคุณได้เลยว่า ไม่ต้องกล้วหรอกครับ ถ้าคุณมีประสบการณ์มา 10 ปี คุณต้องมีเวลา 10 ปีในการถ่ายทอดให้ลูกน้องคุณครับ เพราะเรื่องสรุป ยังไงก็ไม่เท่าประสบการณ์

แต่ถ้าลูกน้องมันทำได้มากกว่าคุณ ก็ยอมรับเถอะครับ ว่าเด็กมันเก่งกว่า ต่อให้ไม่ต้องสอนอะไร เขาก็ก้าวหน้ากว่าอยู่ดี แต่ต่างกันตรงที่ เขาโตขึ้นมาด้วย "ความเคารพ" หรือ ด้วย "ความหมั่นไส้" คุณต่างหาก นี่ละ ประเด็น ^_^